บันทึกการเรียนครั้งที่ 13
วันอังคาร ที่ 28 มกราคม 2557
วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาสอบกลางภาคในห้องเรียน
ความรู้เพิ่มเติม
การจัดการศึกษาสำหรับเด็กบกพร่องทางการได้ยิน
เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินนั้น
โดยทั่วไปเชื่อว่า มีชีวิตที่เสียเปรียบมากในสังคมที่ทุกอย่างขึ้นอยู่กับภาษาและการสื่อสาร
เด็กจะมีปัญหาทางภาษาและการพูดมากเนื่องจากสภาพการได้ยินมีความบกพร่อง
การแสดงออกทางอารมณ์ของเด็กจะใช้พฤติกรรมทางกายเป็นสื่อแสดงออกมา
การเรียน การปรับตัว การสังคม และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจะด้อยกว่าเด็กปกติ
เนื่องจากไม่สามารถใช้ประโยชน์จากการสื่อสารได้เหมือนคนอื่น
เด็กที่พัฒนาการทางภาษาช้า แต่ความสามารถทางสติปัญญาเท่าเด็กปกติทุกอย่าง
เพียงแต่มีข้อจัดทางภาษาจึงทำให้ดูเหมือนว่า เด็กด้อยกว่าเด็กอื่นๆ ทั่วไป
การปรับตัวแตกต่างไปจากเด็กปกติ บางครั้งดูโดดเดี่ยว เหงาหงอย
ดังนั้นในการจัดการศึกษาสำหรับเด็กบกพร่องทางการได้ยินควรมีลักษณะของหลักสูตรและการสอน
ที่สามารถใช้ร่วมกับหลักสูตรของเด็กปกติได้ แต่ต้องมีการปรับในเรื่องของจุดประสงค์และการวัดผลประเมินผล
สำหรับการสอนเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินไม่ว่าจะเป็นประเภทหูตึง
หรือหูหนวกก็ตาม จำเป็นต้องสอนให้มีโอกาสฝึกพูด เด็กทุกคนต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการพูด
ดังนั้นในการสอนเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินควรครอบคลุมการฝึกฝนเด็กในด้านต่าง
ๆ คือ
1. การฝึกฟัง (Auditory
Training) เป็นวิธีการสอนเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินให้รู้จักฟังโดยมีเป้าหมายหลัก
3 ประการ คือ
1.1
ให้รู้จักเสียงที่ฟัง ไม่ว่าจะเป็นเสียงอะไรก็ตามรวมทั้งเสียงที่เป็นการพูดในสิ่งแวดล้อมต่าง
ๆ ของเด็ก
1.2
ให้แยกเสียงทีคละกันในสิ่งแวดล้อมได้ ซึ่งควรฝึกเมื่อเด็กอายุได้
3 ขวบ
1.3
ให้แยกเสียงพูดได้ว่า เป็นเสียงเช่นไร หรือเสียงใคร
2. การฝึกอ่านคำพูด
(Speech reading) เป็นการฝึกอ่านริมฝีปาก หรือการเคลื่อนไหวริมฝีปากของผู้พูดเพื่อให้เข้าใจความหมายตรงกัน
3. ภาษามือและการสะกดนิ้วมือ
(Sign Language and Fingerspelling)
เป็นวิธีดั่งเดิมที่เริ่มมาตั้งแต่ศตวรรษที่
18 และยังคงใช้มาจนถึงปัจจุบัน
ภาษามือมีข้อดีคือสามารถสื่อความหมายได้รวดเร็วและเป็นที่เข้าใจของคนหูหนวก
ได้โดยสะดวก
4. การสื่อสารระบบรวม
และท่าแนะคำพูด (Total Communication and Cued Speech) การสอนคนที่มีความบกพร่องทางการได้ยินในปัจจุบัน
ไม่ได้เน้นการฝึกฟัง หรือภาษามืออย่างใดอย่างหนึ่งเหมือนในอดีต
แต่พยายามจะใช้หลายๆ ระบบรวมกัน
การจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็น
เด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็นจะมีลักษณะแตกต่างไปจากเด็กบกพร่อง
ประเภทอื่น
ๆ
เนื่องจากเด็กเหล่านี้ต้องการให้คนอื่นปฏิบัติต่อพวกเขาเหมือนคนปกติ
แม้ว่าบางครั้งจะต้องการความช่วยเหลือจากคนอื่น
แต่งโดยสามัญสำนึกส่วนใหญ่แล้วต้องการช่วยเหลือตนเองให้มากที่สุด
พัฒนาการทางภาษาของเด็กช้ากว่าเด็กปกติเล็กน้อย
แต่ทักษะภาษาไม่แตกต่างกัน
ความสามารถทางสติปัญญาเหมือนเด็กปกติ
แต่การสร้างความคิดรวบยอดต่อสิ่งต่าง
ๆ ช้ากว่า
ทักษะการเคลื่อนไหวของเด็กจะเป็นไปด้วยความล่าช้า
บางครั้งมีปัญหาจึงต้องฝึกให้รู้จักสิ่งแวดล้อมและการเคลื่อนไหวที่ถูกต้อง
การปรับตัวของเด็กมีบ้างในกรณีที่สังคมมีเจตคติที่ไม่ถูกต้อง
แต่โดยสภาพรวมเด็กสามารถอยู่ในสังคมเพื่อน ๆ
เด็กปกติได้ดี
ดังนั้นการจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็นจึงควรจัดดังนี้
1. หลักสูตรเนื่องจากเด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็นมีข้อจำกัดทางสายตา
จนไม่สามารถใช้สายตาที่เหลือยู่ให้เกิดประโยชน์ในการเรียนรู้ได้
ดังนั้นหลักสูตรสำหรับเด็กเหล่านี้จึงต้องปรับให้เหมาะสมกับเด็กโดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กตาบอด
อย่างไรก็ตามโดยสภาพรวมแล้วหลักสูตรควรใช้เหมือนกับเด็กปกติให้มากที่สุด
2. สิ่งที่จำเป็นการเรียนการสอนสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็นมีอยู่
4 ประการ
2.1
อักษรเบรลล์ (Braille) การสอนอักษรเบรลล์กับเด็กที่บกพร่องทางการเห้นนี้ใช้กับเด็กที่ตาบอดสนิท
หรือมีการเห็นหลงเหลืออยู่น้อยมากจนไม่สามารถใช้สายตาเรียนรู้ได้
2.2
การใช้การเห็นทีเหลืออยู่
ด้วยปัญหาจากการอ่านอักษรเบรลล์และด้วยความจริงที่ว่าผู้บกพร่องทางการเห็น
ส่วนมาก
ยังมีการเห็นที่เหลืออยู่บ้างที่จะนำมาใช้ประโยชน์ได้
ผู้บกพร่องทางการเห็นในปัจจุบันจึงได้รับการสนับสนุนส่งเสริมให้อ่านด้วยสาย
ตาให้มากที่สุด
เนื่องจากปัจจุบันความก้าวหน้าทางการพิมพ์
สามารถปรับขยายให้ตัวอักษรมีขนาดเท่าใดก็ได้ที่เหมาะสมกับระดับการเห็นของ
เด็ก
ประกอบกับสามารถใช้แว่นขยายหรือจอภาพโทรทัศน์
หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ฉายขยายตัวอักษรให้ตัวโตได้หลายเท่าของตัวพิมพ์ปกติ
2.3 การฝึกทักษะการฟัง
(Listening Skills)
ปัจจุบันความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีมีสูง
ทำให้ทักษะการฟังของคนบกพร่องทางการเห็นมีมากขึ้นด้วย
การใช้ทักษะการฟังมีความสะดวกและรวมเร็วกว่าการใช้อักษรเบรลล์เป้นอย่างมาก
ซึ่งปัจจุบันผู้บกพร่องทางการเห็นเป็นจำนวนมากจึงนิยมใช้การฟังมากขึ้น
ฟังจากเทป หรือเครื่องที่บันทึกเสียงคอมพิวเตอร์ มากขึ้นเป็นลำดับ
อย่างก็ตามการใช้การฟังมากเกินไปจะทำให้มีข้อเสียคือ
เด็กที่พอมองเห็นเหลืออยู่บ้างไม่พยายามใช้สายตาที่เหลืออยู่ของตน
ประการต่อมาการบันทึกเสียงไม่สามารถบันทึกสำหรับทุกสิ่งทุกอย่างได้ทั้งหมด
2.4 การฝึกการเคลื่อนไหว
(Mobility Traning) ถือเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นต่อผู้บกพร่องทางการเห็นอย่างมาก
เพราะจะต้องใช้ในการเดินทางและเคลื่อนไหวด้วยตนเองไปในที่ต่าง
ๆ โดยอิสระการเคลื่อนไหวจำเป็นต้องฝึกคือ การทำความคุ้นเคยเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมและการเคลื่อนไหว
การทำความคุ้นเคยเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมเพื่อให้เด็กคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อม
ว่ามีอะไร อยู่ที่ไหน จะใช้ประโยชน์อย่างไร หรือกล่าวง่าย
ๆ ก็คือให้รู้ตัวเองว่ามีความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมในลักษณะใดบ้าง
ส่วนการเคลื่อนไหวเป้นการสอนให้เด็กสามารถเคลื่อนไหวไปยังสถานที่ต่าง
ๆ ได้อย่างปลอดภัย การเคลื่อนไหวสามารถใช้คนนำทาง ใช้สุนัขนำทาง
ใช้ไม้เท้า และใช้เครื่องมือทางอิเล็กทรอนิคส์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น