วันพุธที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

บันทึกการเรียนครั้งที่ 16



วันอังคาร ที่ 18 กุมภาพันธ์ 2557
    วันนี้อาจารย์พูดเกี่ยวกับเรื่องข้อสอบ ว่าออกอะไรบ้าง
และอาจารย์ก็ได้พูดถึงเรื่องบล็อกว่าให้เคลียร์ให้เสร็จ แล้วอาจารย์จะตรวจภายในวันที่2 

ความรู้เพิ่มเติม

      โครงการส่งเสริมพัฒนาการเด็กพิเศษในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย 

 
 
        


    สภาวการณ์ในปัจจุบัน มีความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทางการแพทย์ ตลอดทั้งศักยภาพของบุคลากรทางการแพทย์และระบบสาธารณสุขไทยดีขึ้น ทำให้สามารถช่วยชีวิตเด็กที่เป็นโรคเฉพาะทางบางอย่าง เช่น โรคทางสมอง โรคเรื้อรังต่างๆ เช่น โรคเลือด โรคไต โรคหัวใจ ตลอดจนโรคที่เกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรม และโรคที่มีความบกพร่องทางประสาทสัมผัสต่างๆ ซึ่งอุบัติการณ์เหล่านี้อาจเกิดได้ตั้งแต่การตั้งครรภ์ของมารดาจนกระทั่ง หลังคลอด ส่งผลให้อัตราการรอดชีวิตของเด็กเหล่านี้สูงขึ้น และมีโอกาสเสี่ยงต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการที่ล่าช้าได้ ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาของกล้ามเนื้อและการเคลื่อนไหว ปัญหาการพูดและการใช้ภาษา ปัญหาการช่วยเหลือตัวเอง และปัญหาด้านอารมณ์และพฤติกรรมตามมา 

         จากสภาพการณ์เหล่านี้ส่งผลกระทบต่อครอบครัว ทำให้ครอบครัวขาดความมั่นใจในการดูแลและขาดความรู้ในการให้การช่วยเหลือ ฟื้นฟูเพื่อพัฒนาศักยภาพและทักษะด้านต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพได้ ประกอบกับเด็กพิเศษเหล่านี้มีความต้องการขั้นพื้นฐานรวมทั้งความต้องการการ ยอมรับของสังคมเช่นเดียวกับเด็กปกติคนอื่นในวัยเดียวกัน ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่เด็กพิเศษเหล่านี้จะต้องได้รับการดูแลและช่วย เหลือตั้งแต่ระยะแรกเริ่มจากครอบครัวและบุคคลใกล้ชิดเพื่อสามารถเรียนรู้และ ช่วยเหลือตัวเองและดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

         การดูแลและการะช่วยเหลือเด็กพิเศษในปัจจุบันไม่ได้มุ่งเน้นเพียงแค่การรักษา เฉพาะอาการที่มีปัญหาตามพยาธิสภาพเท่านั้น แต่ยังเปลี่ยนมาเน้นการดูแลรักษาแบบองค์รวม โดยมีแพทย์ นักวิชาชีพในสหสาขาวิชาชีพ ที่ให้ความสนใจทั้งตัวเด็ก และครอบครัว

         ดังนั้นหน่วยพัฒนาการและการเจริญเติบโต ฝ่ายกุมารเวชศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ได้ตระหนักถึงความสำคัญในการช่วยเหลือในระยะแรกเริ่มสำหรับเด็กพิเศษเหล่า นี้เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทุกด้านให้เด็กเหล่านี้มีพัฒนาการที่เต็มตาม ศักยภาพในตน จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมพัฒนาการเด็กพิเศษในโรงพยาบาลขึ้นในปีพ.ศ 2542 โดยมีการให้บริการการช่วยเหลือเด็กพิเศษประเภทต่างๆได้แก่ เด็กกลุ่มอาการดาวน์ เด็กสมองพิการ เด็กออทิสติก เด็กพัฒนาการล่าช้าอื่นๆและครอบครัวในลักษณะที่มีการทำงานร่วมกันระหว่าง เจ้าหน้าที่ในทีมสหสาขาวิชาชีพ ซึ่งประกอบด้วย แพทย์ และนักวิชาชีพอื่นๆเช่นนักจิตวิทยา นักกายภาพบำบัด เป็นต้น และครอบครัว โดยมุ่งเน้นที่เด็กเป็นศูนย์กลาง ตลอดระยะเวลา

         ปีที่ผ่านมาโครงการฯได้รับการสนับสนุนเงินจากโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทยเป็นจำนวน 12,000 บาท/ปี เพื่อใช้ในการดำเนินการแต่ยังไม่เพียงพอต่อจำนวนเด็กที่เข้ามารับการบริการ ประกอบกับจำนวนเด็กพิเศษเหล่านี้มีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆในแต่ละปีทำให้หน่วยฯ ไม่สามารถรับเด็กพิเศษและครอบครัวเหล่านี้เข้ารับบริการการช่วยเหลือในระยะ แรกเริ่มในโครงการฯดังกล่าวได้เพิ่มขึ้น รวมทั้งห้องส่งเสริมพัฒนาการมีลักษณะทรุดโทรม อุปกรณ์การส่งเสริมพัฒนาการชำรุดลงไปมาก อัตราจำนวนเจ้าหน้าที่ในการดูแลมีจำกัด ซึ่งส่งผลต่อการเกิดปัญหาและอุปสรรคในการทำงานเป็นอย่างยิ่ง ถ้าโครงการฯได้รับการสนับสนุนงบประมาณเพิ่มเติมคาดว่าจะส่งผลต่อการดำเนิน งานในโครงการฯได้เป็นอย่างดีและประสิทธิภาพมากขึ้น ทำให้เด็กพิเศษและครอบครัวได้รับโอกาสที่ดีในการพัฒนาคุณภาพชีวิตต่อไปใน อนาคต

วันพุธที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

บันทึกการเรียนครั้งที่ 15

วันอังคาร ที่ 11 กุมภาพันธ์ 2557
     LD เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้
เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ (L.D)
หมายถึง เด็กที่มีความบกพร่องอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างในกระบวนการพื้นฐาน ทางจิตวิทยาที่เกี่ยวกับความเข้าใจหรือการใช้ภาษา อาจเป็นการพูดและ/หรือภาษาเขียน หรือการคิดคำนวณ รวมทั้งสภาพความบกพร่องในการรับรู้ สมองได้รับบาดเจ็บกาปฏิบัติงานของสมองสูญเสียไป

สาเหตุ

  • การได้รับบาดเจ็บทางสมองเนื่องจากระบบประสาทส่วนกลางได้รับบาดเจ็บไม่สามารถทำงานได้เต็มที่
  • กรรมพันธุ์ เนื่องจากงานวิจัยจำนวนมากระบุว่า ถ้าหากพ่อแม่ ญาติ พี่น้องที่ใกล้ชิดเป็นจะมีโอกาส ถ่ายทอดทางพันธุ์กรรม
  • สิ่งแวดล้อม เป็นสาเหตุอื่น ๆ ที่ไม่ใช่การได้รับบาดเจ็บทางสมอง หรือกรรมพันธุ์ เช่น การพัฒนาการช้า เนื่องจากการได้รับสารอาหารไม่ครบ ขาดสารอาหาร มลพิษ การเลี้ยงดู
ลักษณะทั่วไปของเด็ก LD

  • มีความบกพร่องทางการพูด
  • มีความบกพร่องทางการสื่อสาร
  • มีปัญหาในการเรียนวิชาทักษะ
  • มีปัญหาในการสร้างแนวความคิดรวบยอด
  • การทดสอบผลการเรียนให้ผลไม่แน่นอนมากแก่การพยากรณ์
  • มีความบกพร่องทางการรับรู้
  • มีความบกพร่องทางการเคลื่อนไหว
  • มีอารมณ์ไม่คงที
  • โยกตัวหรือผงกศีรษะบ่อยๆ
  • มีพัฒนาการทางร่างกายไม่คงที่
  • มีพฤติกรรมไม่คงเส้นคงว่า
  • เสียสมาธิง่ายแสดงพฤติกรรมแปลกๆ
  • มีปัญหาในการสร้างความ สัมพันธ์กับเพื่อน    
 หลักการช่วยเหลือเด็กที่มีความบกพร่องในการเรียนรู้ (LD)
 สำหรับผู้ปกครอง :

1. เรียน รู้ให้มากขึ้นเกี่ยวกับความบกพร่องในการเรียนรู้ ข้อมูลเหล่านี้ช่วยให้คุณพ่อและคุณแม่เข้าใจลูกๆว่า เขาไม่ได้เรียนรู้ด้วยวิธีการเดียวกับคนส่วนใหญ่ การเรียนรู้อะไรที่เป็นสิ่งที่ยากสำหรับบุตรหลานของท่าน และมีแหล่งความช่วยเหลืออะไรบ้างที่ท่านพอจะช่วยเหลือได้ เพื่อช่วยให้ชีวิตและการเรียนรู้ง่ายขึ้นสำหรับลูก


2.
ค้น หาสิ่งที่ช่วยบอกให้ท่านรู้ว่าบุตรหลานของท่านเรียนรู้ได้ดีที่สุดผ่าน ประสาทสัมผัสทางใดทางหนึ่ง เช่น โดยการมอง การฟัง หรือการสัมผัส อะไรเป็นวิธีที่เป็นจุดอ่อนที่สุดของลูกของท่านในการเรียนรู้ ควรกระตุ้นให้ลูกเกิดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการที่ใช้ประสาทสัมผัสหลายๆด้าน รวมกัน


3.
มุ่ง ให้ความสนใจไปยังสิ่งที่เด็กสนใจ ความเฉลียวฉลาด ความสามารถพิเศษและทักษะต่างๆที่ลูกของพ่อแม่มี ซึ่งจะช่วยได้มากในการสร้างแรงจูงใจ และสนับสนุนให้บุตรหลานของพ่อแม่เกิดการเรียนรู้ที่ราบรื่น


4.
สอน โดยอาศัยจุดเด่นหรือวิธีการที่บุตรหลานของท่านถนัดและทำได้ดี เช่น ถ้าลูกสามารถเข้าใจได้เป็นอย่างดีเมื่อฟังข้อมูลเหล่านั้น ขอให้ใช้ประโยชน์จากจุดเด่นของลูก แทนที่จะเคี่ยวเข็ญให้เด็กอ่านมากๆ ควรปล่อยให้ลูกได้เรียนรู้ข้อมูลใหม่จากการฟังข้อความจากเทปบันทึกเสียงที่ อ่านเรื่องราวในหนังสือเล่มนั้น หรือให้ดูวิดีทัศน์หรือวิดีโอเทปแทน


5.
ให้ เกียรติและกระตุ้นให้เด็กใช้สติปัญญาตามธรรมชาติของเด็ก เด็กอาจมีปัญหาในการอ่านหรือการเขียน แต่นั่นไม่ได้หมายความว่า การเรียนรู้ไม่อาจเกิดขึ้นได้ด้วยวิธีการอื่นๆ ซึ่งมีอีกมากมาย เด็กส่วนใหญ่ที่มีความบกพร่องในการเรียนรู้มีระดับสติปัญญาปกติหรือสูงกว่า ปกติซึ่งจะช่วยให้เขาสามารถที่จะเรียนรู้ได้ดี


6.
สิ่ง ที่ควรคำนึงที่สุดและจงจำไว้เสมอคือ ความผิดพลาดไม่ใช่ความล้มเหลว ลูกมีแนวโน้มที่จะมองความผิดพลาดของตนเองเป็นความล้มเหลวครั้งใหญ่ คุณแม่คุณพ่อสามารถที่จะเป็นแบบอย่างโดยการยอมรับความผิดพลาดของตนเองอย่าง มีอารมณ์ขัน ชี้ให้เด็กเห็นว่าความผิดพลาดนั้นสามารถจะนำมาเป็นประโยชน์ได้เช่นกัน เป็นการเรียนรู้ที่จะไม่ให้เกิดความผิดพลาดซ้ำอีก จะช่วยให้เด็กได้เกิดการแก้ปัญหาของตนเองด้วยวิธีใหม่ ความผิดพลาดเหล่านั้นไม่ใช่จุดจบของโลก


7.
ควร ตระหนักไว้เสมอว่าอาจจะมีบางสิ่งบางอย่างที่บุตรหลานของท่านจะไม่มีวันทำได้ หรือจะมีปัญหาการทำเช่นนี้ไปจนตลอดชีวิต โปรดช่วยให้ลูกๆของท่านเข้าใจว่า การที่เป็นเช่นนี้ไม่ได้หมายความว่าเขาคือผู้ล้มเหลว และให้ความสำคัญกับสิ่งที่ลูกของพ่อแม่จะทำได้


8.
โปรด ตระหนักว่าการพยายามเคี่ยวเข็ญให้บุตรหลานของท่านอ่าน เขียน หรือ ทำการบ้านให้ได้ ทั้งๆที่เป็นสิ่งที่เขาทำไม่ได้ อาจนำไปสู่สถานการณ์ที่มีความขัดแย้งสูง ซึ่งจะลงท้ายด้วยความเครียด ความโกรธ คับข้องใจ


9.
เข้าร่วมประชุมกับทางโรงเรียน พยายามผลักดันให้มีการจัดโปรแกรมการศึกษารายบุคคล (individualized educational plan – IEP) ให้กับลูก และแบ่งปันประสบการณ์ของคุณให้คุณครูได้ทราบว่าคุณใช้การสอนวิธีใดที่บ้านที่ช่วยให้เด็กเรียนรู้ได้ดีที่สุด


10.
โปรด ดูให้แน่ใจว่าหนังสือที่ลูกอ่านตรงกับระดับความสามารถในการอ่านของลูก ส่วนใหญ่เด็กที่มีความบกพร่องในการเรียนรู้จะอ่านหนังสือได้ในระดับที่ต่ำ กว่าระดับชั้นเรียนของตน ดังนั้นเพื่อที่จะช่วยให้เด็กได้มีโอกาสประสบความสำเร็จในการอ่าน จึงเป็นเรื่องสำคัญที่เด็กจะต้องมีหนังสืออ่านที่ตรงกับระดับความสามารถใน การอ่านของเด็ก


11.
สนับ สนุนให้เด็กได้มีโอกาสพัฒนาความสามารถของเขา มองหาดูว่าลูกของท่านเก่งในเรื่องใด มีอะไรที่เขาชอบหรือสนุกสนานกับสิ่งนั้นเป็นพิเศษบ้าง ควรสนับสนุนให้เขามีโอกาสประสบความสำเร็จและค้นพบความสามารถที่เขาจะแสดงออก ได้อย่างภาคภูมิ


12.
ไตร่ตรองความคาดหวังของพ่อแม่และปรับให้อยู่ในความเป็นจริงเป็นระยะๆ


13.
ส่งเสริมและเข้าร่วมในชมรมผู้ปกครองเด็กที่มีปัญหาทางด้านการเรียนรู้ เพื่อช่วยเหลือให้เด็กที่มีปัญหาเช่นเดียวกัน


สำหรับคุณครู

1. รู้จัก ลักษณะของเด็กที่เป็นสัญญาณเตือนถึงความบกพร่องในการเรียนรู้ กล่าวคือเด็กแสดงความยากลำบากในการอ่าน การเขียน การคำนวณ ความจำ ความตั้งใจ สมาธิ ทักษะการจัดการ การทำงานประสานกันของร่างกาย และพฤติกรรมทางสังคม เด็กที่เป็น LD มักจะเป็นเด็กมีผลการเรียนไม่ดีทั้งๆที่เด็กแลดูเฉลียวฉลาด


2.
เข้า ร่วมในการฝึกอบรมหรือการอบรมเชิงปฏิบัติการ หรือโปรแกรมพัฒนาบุคลากรต่างๆ ครูต้องมีการเรียนรู้อยู่เสมอเพื่อพัฒนาทักษะทางการสอนและแลกเปลี่ยนแบ่งปัน กับบรรดาครูด้วยกัน รวมทั้งขอความช่วยเหลือจากองค์กรที่มีผู้เชี่ยวชาญ และนักการศึกษาพิเศษสำหรับความบกพร่องในการเรียนรู้


3.
วาง แผนการจัดทำแฟ้มข้อมูลเกี่ยวกับการเรียนรู้ของนักเรียนแต่ละคน สังเกตติดตามความสามารถและการมีส่วนร่วมในชั้นเรียนของนักเรียนแต่ละคน


4.
พัฒนา เทคนิคการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ ควรใช้เทคนิคหรือนวัตกรรมเพื่อดึงความสนใจของเด็กที่มีความบกพร่องในการ เรียนรู้และต้องปรับปรุงโอกาสในการเรียนรู้ของเด็กด้วยการจัดเตรียมการเรียน การสอนรายบุคคล(individualized educational plan - IEP)

5.
เด็ก ที่มีความบกพร่องในการเรียนรู้มักจะมีความยากลำบากในการดึงความคิดรวบยอด และการติดต่อสื่อสารในชั้นเรียนมากกว่าเด็กคนอื่น ปรับการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับรูปแบบการเรียนรู้ที่หลากหลาย และความสามารถของเด็กที่มีความบกพร่องในการเรียนรู้


6.
จัด เตรียมโครงสร้างของการเรียนรู้ การพัฒนานิสัยการทำงาน การรับมือกับการเปลี่ยนแปลง ต้องสอนให้เด็กได้สังเกตความก้าวหน้าและจัดระเบียบเวลา และความพยายามที่ใช้ในการทำงานแต่ละอย่าง


7.
พยายามสร้างความภาคภูมิใจในตนเองให้เกิดกับเด็กที่มีความบกพร่องในการเรียนรู้ โดยมองหาจุดดี จุดแข็งของเด็กและให้คำชมอยู่เสมอ


8.
ประชุม กับผู้ปกครองเพื่ออภิปรายปัญหาของเด็กที่โรงเรียนร่วมมือกับผู้ปกครองและผู้ ดูแลเด็กในการให้การศึกษาพิเศษหรือการศึกษารายบุคคลกับเด็ก และแนะนำกลยุทธ์ที่สามารถนำไปใช้ในระหว่างสุดสัปดาห์หรือในช่วงวันหยุดได้


9.
ทำ ความเข้าใจกฎหมายและขั้นตอนที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ที่เกี่ยวข้องกับโปรแกรมการศึกษาพิเศษหรือโปรแกรมการศึกษารายบุคคล เป็นกระบอกเสียงให้กับเด็กที่มีความบกพร่องในการเรียนรู้รักษาสิทธิของเด็ก ที่มีความบกพร่องในการเรียนรู้ในฐานะที่เด็กเป็นสมาชิกของชุมชน โรงเรียน


10.
คุณ ครูสามารถทำงานร่วมกับเจ้าหน้าที่ของทางโรงเรียนในการช่วยเหลือเด็ก ปรับให้เกิดความยืดหยุ่นในกระบวนการสอนในชั้นเรียน ใช้ประโยชน์จากสื่อวัสดุที่มีลักษณะตรวจสอบคำตอบได้ด้วยตนเอง ซึ่งช่วยให้เด็กได้รับผลย้อนกลับหรือได้ข้อมูลป้อนกลับทันทีทันใดโดยไม่ต้อง รู้สึกอับอายคนอื่น ใช้คอมพิวเตอร์สำหรับฝึกทักษะและฝึกปฏิบัติต่าง ๆ รวมทั้งสอนให้เด็กใช้คอมพิวเตอร์แบบประมวลคำ


11.
ให้การเสริมแรงทางบวกต่อเด็กที่มีความบกพร่องในการเรียนรู้ เมื่อแสดงทักษะทางสังคมที่เหมาะสมทั้งที่บ้านและที่โรงเรียน


คุณครูควรเข้าใจว่าการที่นักเรียนที่มีภาวะ LD ได้ รับการดูแลช่วยเหลือเป็นพิเศษนั้น ไม่ได้หมายความว่านักเรียนผู้นั้นมีอภิสิทธิ์เหนือนักเรียนคนอื่น เพียงแต่ว่าเขามีความพิการทางสมองอย่างหนึ่งที่จำเป็นต้องได้รับการดูแลที่ แตกต่างออกไป เปรียบเสมือนนักเรียนที่มีความพิการทางสายตาที่จำเป็นต้องเรียนรู้โดยการใช้ อักษรเบรลล์

บันทึกการเรียนครั้งที่ 14

วันอังคาร ที่ 4 กุมภาพันธ์ 2557

  วันนี้เรียนเกี่ยวกับเรื่อง เด็กดาวน์ซินโดรมอาจารย์อธิบายเนื้อหาสาระได้อย่างเข้าใจ

1. ด้านสุขภาพอนามัย 
-บิดามารดาให้พาบุตรไปพบแพทย์ตั้งแต่แรก ติดตามการรักษาเป็นระยะๆ
2.การส่งเสริมพัฒนาการ 
-เด็กกลุ่มอาการดาวสามารถพัฒนาได้ถ้าได้รับการฝึกสอนที่เหมาะสม
3.การดำรงชีวิตประจำวัน
-ฝึกให้ช่วยเหลือตนเองได้มากที่สุด
4.การฟื้นฟูสมรรถภาพ
-การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ เช่น การพูด กายภาพบำบัด กิจกรรมบำบัก
-การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการศึกษาโดยจัดทำแผนการศึกษาเฉพาะบุคคล IEP
-การฟื้นฟูสมรรถภาพทางสังคม เช่น การฝึกทักษะการดำรงชีวิต
-การฟื้นฟูสมรถถภาพทางอาชีพโดยการฝึกอาชีพ 

      การส่งเสริมพัฒนาการ
-พัฒนาทักษะด้านต่างๆ เช่น คณิตศาสตรืและภาษา
-สามารถปรับตัวและช่วยเหลือตนเองได้มากขึ้น
-สังคมยอมรับมากขึ้นไปเรียนร่วมมือเรียนรวมได้
-ลดปัยหาพฤติกรรม
-คุณภาพชีวิตดีขึ้นสามารถแก้ไขปัญหาและทำงานได้ดีขึ้น

                  Autistic ออทิสติก (ตัวอันตราย/คล้ายๆกับเด็กสมาธิสั้นอยู่ไม่นิ่งอยู่ไม่สุข )
    ส่งเสริมความเข้มแข็งครอบครัว/สำคัญที่สุด
 -ครอบครัวมีบทบาทสำคัญที่สุดในกระบวนการดูแลช่วยเหลือเด็กออทิสติก
    ส่งเสริมความสามารถเด็ก
-การเสริมสร้างโอกาสให้เด็กได้เล่นของเล่นที่หลากหลาย
-ทำกิจกรรมที่หลากหลาย
    การปรับพฤติกรรมและฝึกทักษะทางสังคม
-เพิ่มพฤติกรรมที่เหมาะสมและลดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม
-การให้การเสริมแรง ดีก็ชม
    การฝึกพูด (ได้รับจากนักบำบัดการพูด)
-โดยเฉพาะในรายที่มีพัฒนาการด้านภาษาและการสื่อความหมายล่าช้า
-ถ้าเด็กพูดได้เร็วโอกาสที่จะพัฒนาการทางภาษาใกล้เคียงปกติจะเพิ่มมากขึ้น
-ลดการใช้ภาษาที่ไม่เหมาะสม
-ช่วยลดพฤติกรรมก้าวร้าวที่เกิดจากการไม่สามารถสื่อความต้องการได้
-การสื่อความหมายทดแทน (AAc)

      การสื่อความหมายทดแทน
-การรับรู้ผ่านการมองเห็น
-โปรแกรมแลกเปลี่ยนภาพเพื่อการสื่อสาร PECS
-เครื่องโอภา
      การส่งเสริมพัฒนาการ
-ให้เด็กมีพัฒนาการเป็นไปตามวัย
-เน้นในเรื่องการมองหน้าการสบสายตาการมีสมาธิ การฟัง และทำตามคำสั่ง
-ส่งเสริมพัฒนาการด้านอื่นที่ล่าช้าควบคู้กับการพัฒนาทักษะด้านการสื่อสาร สังคม และการปรับพฤติกรรม
     การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการศึกษา
-เพิ่มทักษะพื้นฐานด้านสังคม การสื่อสาร และทักษะทางความคิด
-แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล
-โรงเรียนเรียนรวม ห้องเรียนคู่ขนาน
     การฟื้นฟูสมรรถภาพทางสังคม ( ต่ำ )
-ทักษะในชีวิตประจำวัน และฝึกฝนทักษะสังคม
-ให้เด็กสามารถทำได้ด้วยตนเองเต็มความสามารถ โดยต้องการความช่วยเหลือน้อยที่สุด
     การรักษาด้วยยา
-เพื่อบรรเทาอาการไม่ใช่รักษาให้หาย
      การบำบัดทางเลือก
-การสื่อความมหายทดแทน
-ศิลปะกรรมบำบัด
-ดนตรีบำบัด
-การฝังเข็ม
-การบำบัดด้วยสัตว์
       พ่อแม่
-ลูกต้องพัฒนาได้
-เรารักลุกของเรา ไม่ว่าเขาจะเป็นอย่างไร
-ถ้าเราไม่รักแล้วใครจะรัก
-หยุดไม่ได้ต้องสู้
-ดูแลจิตใจและร่างกายของตนเองให้เข้มแข็ง
-ไม่กล่าวโทษตนเองหรือคู่สมรส
-ควรหันหน้าปรึกษากันในครอบครัว

     * แล้วอาจารย์ก็ให้ดูวิดีโอ  --เรื่อง เด็กสมาธิสั้น-- (สถาบันราชานุกูล กรมสุขภาพจิต ) แล้วสรุปเป็นมายแม็ป
 

 

 

 
 
บันทึกการเรียนครั้งที่ 13
วันอังคาร ที่ 28 มกราคม 2557
 วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาสอบกลางภาคในห้องเรียน
ความรู้เพิ่มเติม

     การจัดการศึกษาสำหรับเด็กบกพร่องทางการได้ยิน
       ด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินนั้น โดยทั่วไปเชื่อว่า มีชีวิตที่เสียเปรียบมากในสังคมที่ทุกอย่างขึ้นอยู่กับภาษาและการสื่อสาร เด็กจะมีปัญหาทางภาษาและการพูดมากเนื่องจากสภาพการได้ยินมีความบกพร่อง การแสดงออกทางอารมณ์ของเด็กจะใช้พฤติกรรมทางกายเป็นสื่อแสดงออกมา การเรียน การปรับตัว การสังคม และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจะด้อยกว่าเด็กปกติ เนื่องจากไม่สามารถใช้ประโยชน์จากการสื่อสารได้เหมือนคนอื่น เด็กที่พัฒนาการทางภาษาช้า แต่ความสามารถทางสติปัญญาเท่าเด็กปกติทุกอย่าง เพียงแต่มีข้อจัดทางภาษาจึงทำให้ดูเหมือนว่า เด็กด้อยกว่าเด็กอื่นๆ ทั่วไป การปรับตัวแตกต่างไปจากเด็กปกติ บางครั้งดูโดดเดี่ยว เหงาหงอย ดังนั้นในการจัดการศึกษาสำหรับเด็กบกพร่องทางการได้ยินควรมีลักษณะของหลักสูตรและการสอน ที่สามารถใช้ร่วมกับหลักสูตรของเด็กปกติได้ แต่ต้องมีการปรับในเรื่องของจุดประสงค์และการวัดผลประเมินผล สำหรับการสอนเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินไม่ว่าจะเป็นประเภทหูตึง หรือหูหนวกก็ตาม จำเป็นต้องสอนให้มีโอกาสฝึกพูด เด็กทุกคนต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการพูด ดังนั้นในการสอนเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินควรครอบคลุมการฝึกฝนเด็กในด้านต่าง ๆ คือ
       1. การฝึกฟัง (Auditory Training) เป็นวิธีการสอนเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินให้รู้จักฟังโดยมีเป้าหมายหลัก 3 ประการ คือ
              1.1 ให้รู้จักเสียงที่ฟัง ไม่ว่าจะเป็นเสียงอะไรก็ตามรวมทั้งเสียงที่เป็นการพูดในสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ของเด็ก
              1.2 ให้แยกเสียงทีคละกันในสิ่งแวดล้อมได้ ซึ่งควรฝึกเมื่อเด็กอายุได้ 3 ขวบ
              1.3 ให้แยกเสียงพูดได้ว่า เป็นเสียงเช่นไร หรือเสียงใคร
       2. การฝึกอ่านคำพูด (Speech reading) เป็นการฝึกอ่านริมฝีปาก หรือการเคลื่อนไหวริมฝีปากของผู้พูดเพื่อให้เข้าใจความหมายตรงกัน
       3. ภาษามือและการสะกดนิ้วมือ (Sign Language and Fingerspelling) เป็นวิธีดั่งเดิมที่เริ่มมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 18 และยังคงใช้มาจนถึงปัจจุบัน ภาษามือมีข้อดีคือสามารถสื่อความหมายได้รวดเร็วและเป็นที่เข้าใจของคนหูหนวก ได้โดยสะดวก
       4. การสื่อสารระบบรวม และท่าแนะคำพูด (Total Communication and Cued Speech) การสอนคนที่มีความบกพร่องทางการได้ยินในปัจจุบัน ไม่ได้เน้นการฝึกฟัง หรือภาษามืออย่างใดอย่างหนึ่งเหมือนในอดีต แต่พยายามจะใช้หลายๆ ระบบรวมกัน

 การจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็น
       เด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็นจะมีลักษณะแตกต่างไปจากเด็กบกพร่อง ประเภทอื่น ๆ เนื่องจากเด็กเหล่านี้ต้องการให้คนอื่นปฏิบัติต่อพวกเขาเหมือนคนปกติ แม้ว่าบางครั้งจะต้องการความช่วยเหลือจากคนอื่น แต่งโดยสามัญสำนึกส่วนใหญ่แล้วต้องการช่วยเหลือตนเองให้มากที่สุด พัฒนาการทางภาษาของเด็กช้ากว่าเด็กปกติเล็กน้อย แต่ทักษะภาษาไม่แตกต่างกัน ความสามารถทางสติปัญญาเหมือนเด็กปกติ แต่การสร้างความคิดรวบยอดต่อสิ่งต่าง ๆ ช้ากว่า ทักษะการเคลื่อนไหวของเด็กจะเป็นไปด้วยความล่าช้า บางครั้งมีปัญหาจึงต้องฝึกให้รู้จักสิ่งแวดล้อมและการเคลื่อนไหวที่ถูกต้อง การปรับตัวของเด็กมีบ้างในกรณีที่สังคมมีเจตคติที่ไม่ถูกต้อง แต่โดยสภาพรวมเด็กสามารถอยู่ในสังคมเพื่อน ๆ เด็กปกติได้ดี ดังนั้นการจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็นจึงควรจัดดังนี้
       1. หลักสูตรเนื่องจากเด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็นมีข้อจำกัดทางสายตา จนไม่สามารถใช้สายตาที่เหลือยู่ให้เกิดประโยชน์ในการเรียนรู้ได้ ดังนั้นหลักสูตรสำหรับเด็กเหล่านี้จึงต้องปรับให้เหมาะสมกับเด็กโดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กตาบอด อย่างไรก็ตามโดยสภาพรวมแล้วหลักสูตรควรใช้เหมือนกับเด็กปกติให้มากที่สุด
       2. สิ่งที่จำเป็นการเรียนการสอนสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็นมีอยู่ 4 ประการ
              2.1 อักษรเบรลล์ (Braille) การสอนอักษรเบรลล์กับเด็กที่บกพร่องทางการเห้นนี้ใช้กับเด็กที่ตาบอดสนิท หรือมีการเห็นหลงเหลืออยู่น้อยมากจนไม่สามารถใช้สายตาเรียนรู้ได้
              2.2 การใช้การเห็นทีเหลืออยู่ ด้วยปัญหาจากการอ่านอักษรเบรลล์และด้วยความจริงที่ว่าผู้บกพร่องทางการเห็น ส่วนมาก ยังมีการเห็นที่เหลืออยู่บ้างที่จะนำมาใช้ประโยชน์ได้ ผู้บกพร่องทางการเห็นในปัจจุบันจึงได้รับการสนับสนุนส่งเสริมให้อ่านด้วยสาย ตาให้มากที่สุด เนื่องจากปัจจุบันความก้าวหน้าทางการพิมพ์ สามารถปรับขยายให้ตัวอักษรมีขนาดเท่าใดก็ได้ที่เหมาะสมกับระดับการเห็นของ เด็ก ประกอบกับสามารถใช้แว่นขยายหรือจอภาพโทรทัศน์ หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ฉายขยายตัวอักษรให้ตัวโตได้หลายเท่าของตัวพิมพ์ปกติ
       2.3 การฝึกทักษะการฟัง (Listening Skills) ปัจจุบันความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีมีสูง ทำให้ทักษะการฟังของคนบกพร่องทางการเห็นมีมากขึ้นด้วย การใช้ทักษะการฟังมีความสะดวกและรวมเร็วกว่าการใช้อักษรเบรลล์เป้นอย่างมาก ซึ่งปัจจุบันผู้บกพร่องทางการเห็นเป็นจำนวนมากจึงนิยมใช้การฟังมากขึ้น ฟังจากเทป หรือเครื่องที่บันทึกเสียงคอมพิวเตอร์ มากขึ้นเป็นลำดับ อย่างก็ตามการใช้การฟังมากเกินไปจะทำให้มีข้อเสียคือ เด็กที่พอมองเห็นเหลืออยู่บ้างไม่พยายามใช้สายตาที่เหลืออยู่ของตน ประการต่อมาการบันทึกเสียงไม่สามารถบันทึกสำหรับทุกสิ่งทุกอย่างได้ทั้งหมด
       2.4 การฝึกการเคลื่อนไหว (Mobility Traning) ถือเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นต่อผู้บกพร่องทางการเห็นอย่างมาก เพราะจะต้องใช้ในการเดินทางและเคลื่อนไหวด้วยตนเองไปในที่ต่าง ๆ โดยอิสระการเคลื่อนไหวจำเป็นต้องฝึกคือ การทำความคุ้นเคยเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมและการเคลื่อนไหว การทำความคุ้นเคยเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมเพื่อให้เด็กคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อม ว่ามีอะไร อยู่ที่ไหน จะใช้ประโยชน์อย่างไร หรือกล่าวง่าย ๆ ก็คือให้รู้ตัวเองว่ามีความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมในลักษณะใดบ้าง ส่วนการเคลื่อนไหวเป้นการสอนให้เด็กสามารถเคลื่อนไหวไปยังสถานที่ต่าง ๆ ได้อย่างปลอดภัย การเคลื่อนไหวสามารถใช้คนนำทาง ใช้สุนัขนำทาง ใช้ไม้เท้า และใช้เครื่องมือทางอิเล็กทรอนิคส์

บันทึกการเรียนครั้งที่ 12
วันอังคาร ที่ 21 มกราคม 2557
     วันนี้เรียนเกี่ยวกับเรื่อง พัฒนาการของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
อาจารย์ได้อธิบายเนื้อหาให้ฟังอย่างเข้าใจและแจกเป็นใบความรู้มาให้แล้วให้เราทำความเข้าใจตาม
 พัฒนาการ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงในด้านการทำหน้าที่และวุฒิภาวะของอวัยวะต่างๆรวมทั้งตัวบุคคล ทำให้สามารถทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำสิ่งที่ยากซับซ้อนมากขึ้น โดยทั่วไปพัฒนาการปกติ แบ่งออกเป็น 4 ด้าน คือ
1.พัฒนาการด้านร่างกาย
2.พัฒนาการด้านสติปัญญา
3.พัฒนาการด้านจิตใจ-อารมณ์
4.พัฒนาการด้านสังคม
   เด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ  หมายถึง เด็กที่มีพัฒนาการล่าช้ากว่าเด็กปกติในวัยเดียวกันที่สามารถทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดได้ เช่น เด็กอายุ 20 เดือน แต่ยังเดินไม่ได้ ในขณะที่เด็กปกคิเริ่มเรียนรู้ที่จะเดินและเดินได้ในช่วงอายุ 9-15 เดือน
  *ปัจจัยที่มีผลต่อพัฒนาการเด็ก
-ปัจจัยด้านชีวภาพ 
เกี่ยวข้องกับลักษณะทางพันธุกรรมหรือชุดหน่อยของยีนที่เด็กได้รับสืบทอดมาจากมารดาบิดา
-ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมก่อนคลอด 
การติดเชื้อ สารพิา สภาวะทางโภชนาการและการเจ็บป่วยของมารดาส่งผลต่อพัฒนาการของตัวอ่อนในครรภ์
-ปัจจัยด้านกระบวนการคลอด  
การเกิดภาวะแทรกซ้อนในระยะคลอด เช่น ภาวะขาดออกซิเจนในขณะคลอด
- ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมหลังคลอด
  ปัจจัยด้านระบบประสาทและสภาพแวดล้อมส่งผลร่วมกันต่อพัฒนาการของเด็ก เด็กที่ไม่มีบิดามารดา หรือเด็กที่ไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่ อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่แออัด ยากจน 
*สาเหตุที่ทำให้เกิดความบกพร่องทางพัฒนาการ
1.โรคพันธุกรรม
2.โรคของระบบประสาท อาการหลักที่เกิดขึ้นในเด็กคืออาการชัก
3.การติดเชื้อ
4.ความผิดปกติเกี่ยวกับเมตาบอดิซึม ระบบเผาผลานในร่างกาย พบมากในประเทศไทย สามารถรักษาได้โดยการฉีดฮอโมนในตัว ถ้าไม่รับคือโง่ตลอดกาล
5.ภาวะแทรกซ้อนระยะแรกเกิด  เกิดก่อนกำหนด
6.สารเคมี ตะกั่ว
7.การเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสมรวมทั้งการขาดสารอาหาร เช่น ปฏิกิริยาสะท้อน
   * แนวทางการวินิจฉัยเด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ
1.การซักประวัติ
2.การตรวจร่างกาย
3.การสืบค้นทางห้องปฏิบัติการ
-การตรวจทางห้องปฏิบัติทางพันธุกรรม
-การตรวจด้วยเทคนิค FISH
-การตรวจดีเอ็นเอ
-การตรวจรังสีทางระบบประสาท
การตรวจทางเมตาบอลิก
4.การประเมินพัฒนาการ
-การประเมินแบบไม่เป็นทางการ
-การประเมินที่ใช้ในเวชปฏิบัติ
  * แนวทางในการดูแลรักษา
1.หาสาเหตุที่ทำให้เกิดความบกพร่องทางพัฒนาการ โดยมาพบถุมารแพทย์และแพทย์ด้านพัฒนาการเด็ก เพื่อทำการประเมินพัฒนาการเบื้องต้นและหาสาเหตุด้วยเสมอ
2.การตรวจค้นหาความผิดปกติร่วม
3.การรักษาสาเหตุโดยตรง
4.การส่งเสริมพัฒนาการ หลักการคือพยายามทำให้มีวิธีการเดียวกับการเลี้ยงดูเด็กทั่วไปในชีวิตประจำวัน
5.ให้คำปรึกษากับครอบครัวในการหาแหล่งความรู้เพิ่มเติมต่างๆ เช่น หนังสือ หรือเว็ปไซต์เกี่ยวกับเด็กพิเศษ
  * สรุปขั้นตอนในการดูแลเด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ
1.การตรวจคัดกรองพัฒนาการ
2.การตรวจประเมินพัฒนาการ
3.การให้การวินิจฉัยและหาสาเหตุ
4.การให้การรักษาและส่งเสริมพัฒนาการ
5.การติดตามและประเมินผลการรักษาเป็นระยะ
   * บริการที่สำคัญสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ
1.การตรวจการได้ยิน
2.การให้คำปรึกษาครอบครัว
3.การจัดโปรแกรมการศึกษา
4.บริการทางการแพทย์
5.บริการทางการพยาบาล
6.บริการด้านโภชนาการ
7.บริการด้านจิตวิทยา
8.กายภาพบำบัด
9.กิจกรรมบำบัด
10.อรรถบำบัด
 
บันทึกการเรียนครั้งที่ 11

วันอังคาร ที่ 14 มกราคม 2557

-วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากเหตุการณ์บ้านเมืองไม่สงบ เพราะคนไทยไม่รักกัน 

 
บันทึกการเรียนครั้งที่ 10

วันอังคาร ที่ 7 มกราคม 2557

    ในวันนี้อาจารย์ตฤณ ได้ให้แต่ละกลุ่มออกไปนำเสนองานและแสดงบทบาทสมมุติ ในโรคแต่ละโรคของกลุ่มตัวเองที่ได้รับมองหมาย