บันทึกการเรียนครั้งที่ 16
วันอังคาร ที่ 18 กุมภาพันธ์ 2557
วันนี้อาจารย์พูดเกี่ยวกับเรื่องข้อสอบ ว่าออกอะไรบ้าง
และอาจารย์ก็ได้พูดถึงเรื่องบล็อกว่าให้เคลียร์ให้เสร็จ แล้วอาจารย์จะตรวจภายในวันที่2
ความรู้เพิ่มเติม
โครงการส่งเสริมพัฒนาการเด็กพิเศษในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
สภาวการณ์ในปัจจุบัน มีความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทางการแพทย์ ตลอดทั้งศักยภาพของบุคลากรทางการแพทย์และระบบสาธารณสุขไทยดีขึ้น ทำให้สามารถช่วยชีวิตเด็กที่เป็นโรคเฉพาะทางบางอย่าง เช่น โรคทางสมอง โรคเรื้อรังต่างๆ เช่น โรคเลือด โรคไต โรคหัวใจ ตลอดจนโรคที่เกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรม และโรคที่มีความบกพร่องทางประสาทสัมผัสต่างๆ ซึ่งอุบัติการณ์เหล่านี้อาจเกิดได้ตั้งแต่การตั้งครรภ์ของมารดาจนกระทั่ง หลังคลอด ส่งผลให้อัตราการรอดชีวิตของเด็กเหล่านี้สูงขึ้น และมีโอกาสเสี่ยงต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการที่ล่าช้าได้ ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาของกล้ามเนื้อและการเคลื่อนไหว ปัญหาการพูดและการใช้ภาษา ปัญหาการช่วยเหลือตัวเอง และปัญหาด้านอารมณ์และพฤติกรรมตามมา
จากสภาพการณ์เหล่านี้ส่งผลกระทบต่อครอบครัว ทำให้ครอบครัวขาดความมั่นใจในการดูแลและขาดความรู้ในการให้การช่วยเหลือ ฟื้นฟูเพื่อพัฒนาศักยภาพและทักษะด้านต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพได้ ประกอบกับเด็กพิเศษเหล่านี้มีความต้องการขั้นพื้นฐานรวมทั้งความต้องการการ ยอมรับของสังคมเช่นเดียวกับเด็กปกติคนอื่นในวัยเดียวกัน ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่เด็กพิเศษเหล่านี้จะต้องได้รับการดูแลและช่วย เหลือตั้งแต่ระยะแรกเริ่มจากครอบครัวและบุคคลใกล้ชิดเพื่อสามารถเรียนรู้และ ช่วยเหลือตัวเองและดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
การดูแลและการะช่วยเหลือเด็กพิเศษในปัจจุบันไม่ได้มุ่งเน้นเพียงแค่การรักษา เฉพาะอาการที่มีปัญหาตามพยาธิสภาพเท่านั้น แต่ยังเปลี่ยนมาเน้นการดูแลรักษาแบบองค์รวม โดยมีแพทย์ นักวิชาชีพในสหสาขาวิชาชีพ ที่ให้ความสนใจทั้งตัวเด็ก และครอบครัว
ดังนั้นหน่วยพัฒนาการและการเจริญเติบโต ฝ่ายกุมารเวชศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ได้ตระหนักถึงความสำคัญในการช่วยเหลือในระยะแรกเริ่มสำหรับเด็กพิเศษเหล่า นี้เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทุกด้านให้เด็กเหล่านี้มีพัฒนาการที่เต็มตาม ศักยภาพในตน จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมพัฒนาการเด็กพิเศษในโรงพยาบาลขึ้นในปีพ.ศ 2542 โดยมีการให้บริการการช่วยเหลือเด็กพิเศษประเภทต่างๆได้แก่ เด็กกลุ่มอาการดาวน์ เด็กสมองพิการ เด็กออทิสติก เด็กพัฒนาการล่าช้าอื่นๆและครอบครัวในลักษณะที่มีการทำงานร่วมกันระหว่าง เจ้าหน้าที่ในทีมสหสาขาวิชาชีพ ซึ่งประกอบด้วย แพทย์ และนักวิชาชีพอื่นๆเช่นนักจิตวิทยา นักกายภาพบำบัด เป็นต้น และครอบครัว โดยมุ่งเน้นที่เด็กเป็นศูนย์กลาง ตลอดระยะเวลา
ปีที่ผ่านมาโครงการฯได้รับการสนับสนุนเงินจากโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทยเป็นจำนวน 12,000 บาท/ปี เพื่อใช้ในการดำเนินการแต่ยังไม่เพียงพอต่อจำนวนเด็กที่เข้ามารับการบริการ ประกอบกับจำนวนเด็กพิเศษเหล่านี้มีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆในแต่ละปีทำให้หน่วยฯ ไม่สามารถรับเด็กพิเศษและครอบครัวเหล่านี้เข้ารับบริการการช่วยเหลือในระยะ แรกเริ่มในโครงการฯดังกล่าวได้เพิ่มขึ้น รวมทั้งห้องส่งเสริมพัฒนาการมีลักษณะทรุดโทรม อุปกรณ์การส่งเสริมพัฒนาการชำรุดลงไปมาก อัตราจำนวนเจ้าหน้าที่ในการดูแลมีจำกัด ซึ่งส่งผลต่อการเกิดปัญหาและอุปสรรคในการทำงานเป็นอย่างยิ่ง ถ้าโครงการฯได้รับการสนับสนุนงบประมาณเพิ่มเติมคาดว่าจะส่งผลต่อการดำเนิน งานในโครงการฯได้เป็นอย่างดีและประสิทธิภาพมากขึ้น ทำให้เด็กพิเศษและครอบครัวได้รับโอกาสที่ดีในการพัฒนาคุณภาพชีวิตต่อไปใน อนาคต
ความรู้เพิ่มเติม
โครงการส่งเสริมพัฒนาการเด็กพิเศษในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
สภาวการณ์ในปัจจุบัน มีความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทางการแพทย์ ตลอดทั้งศักยภาพของบุคลากรทางการแพทย์และระบบสาธารณสุขไทยดีขึ้น ทำให้สามารถช่วยชีวิตเด็กที่เป็นโรคเฉพาะทางบางอย่าง เช่น โรคทางสมอง โรคเรื้อรังต่างๆ เช่น โรคเลือด โรคไต โรคหัวใจ ตลอดจนโรคที่เกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรม และโรคที่มีความบกพร่องทางประสาทสัมผัสต่างๆ ซึ่งอุบัติการณ์เหล่านี้อาจเกิดได้ตั้งแต่การตั้งครรภ์ของมารดาจนกระทั่ง หลังคลอด ส่งผลให้อัตราการรอดชีวิตของเด็กเหล่านี้สูงขึ้น และมีโอกาสเสี่ยงต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการที่ล่าช้าได้ ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาของกล้ามเนื้อและการเคลื่อนไหว ปัญหาการพูดและการใช้ภาษา ปัญหาการช่วยเหลือตัวเอง และปัญหาด้านอารมณ์และพฤติกรรมตามมา
จากสภาพการณ์เหล่านี้ส่งผลกระทบต่อครอบครัว ทำให้ครอบครัวขาดความมั่นใจในการดูแลและขาดความรู้ในการให้การช่วยเหลือ ฟื้นฟูเพื่อพัฒนาศักยภาพและทักษะด้านต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพได้ ประกอบกับเด็กพิเศษเหล่านี้มีความต้องการขั้นพื้นฐานรวมทั้งความต้องการการ ยอมรับของสังคมเช่นเดียวกับเด็กปกติคนอื่นในวัยเดียวกัน ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่เด็กพิเศษเหล่านี้จะต้องได้รับการดูแลและช่วย เหลือตั้งแต่ระยะแรกเริ่มจากครอบครัวและบุคคลใกล้ชิดเพื่อสามารถเรียนรู้และ ช่วยเหลือตัวเองและดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
การดูแลและการะช่วยเหลือเด็กพิเศษในปัจจุบันไม่ได้มุ่งเน้นเพียงแค่การรักษา เฉพาะอาการที่มีปัญหาตามพยาธิสภาพเท่านั้น แต่ยังเปลี่ยนมาเน้นการดูแลรักษาแบบองค์รวม โดยมีแพทย์ นักวิชาชีพในสหสาขาวิชาชีพ ที่ให้ความสนใจทั้งตัวเด็ก และครอบครัว
ดังนั้นหน่วยพัฒนาการและการเจริญเติบโต ฝ่ายกุมารเวชศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ได้ตระหนักถึงความสำคัญในการช่วยเหลือในระยะแรกเริ่มสำหรับเด็กพิเศษเหล่า นี้เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทุกด้านให้เด็กเหล่านี้มีพัฒนาการที่เต็มตาม ศักยภาพในตน จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมพัฒนาการเด็กพิเศษในโรงพยาบาลขึ้นในปีพ.ศ 2542 โดยมีการให้บริการการช่วยเหลือเด็กพิเศษประเภทต่างๆได้แก่ เด็กกลุ่มอาการดาวน์ เด็กสมองพิการ เด็กออทิสติก เด็กพัฒนาการล่าช้าอื่นๆและครอบครัวในลักษณะที่มีการทำงานร่วมกันระหว่าง เจ้าหน้าที่ในทีมสหสาขาวิชาชีพ ซึ่งประกอบด้วย แพทย์ และนักวิชาชีพอื่นๆเช่นนักจิตวิทยา นักกายภาพบำบัด เป็นต้น และครอบครัว โดยมุ่งเน้นที่เด็กเป็นศูนย์กลาง ตลอดระยะเวลา
ปีที่ผ่านมาโครงการฯได้รับการสนับสนุนเงินจากโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทยเป็นจำนวน 12,000 บาท/ปี เพื่อใช้ในการดำเนินการแต่ยังไม่เพียงพอต่อจำนวนเด็กที่เข้ามารับการบริการ ประกอบกับจำนวนเด็กพิเศษเหล่านี้มีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆในแต่ละปีทำให้หน่วยฯ ไม่สามารถรับเด็กพิเศษและครอบครัวเหล่านี้เข้ารับบริการการช่วยเหลือในระยะ แรกเริ่มในโครงการฯดังกล่าวได้เพิ่มขึ้น รวมทั้งห้องส่งเสริมพัฒนาการมีลักษณะทรุดโทรม อุปกรณ์การส่งเสริมพัฒนาการชำรุดลงไปมาก อัตราจำนวนเจ้าหน้าที่ในการดูแลมีจำกัด ซึ่งส่งผลต่อการเกิดปัญหาและอุปสรรคในการทำงานเป็นอย่างยิ่ง ถ้าโครงการฯได้รับการสนับสนุนงบประมาณเพิ่มเติมคาดว่าจะส่งผลต่อการดำเนิน งานในโครงการฯได้เป็นอย่างดีและประสิทธิภาพมากขึ้น ทำให้เด็กพิเศษและครอบครัวได้รับโอกาสที่ดีในการพัฒนาคุณภาพชีวิตต่อไปใน อนาคต