วันศุกร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556


บันทึกการเรียนครั้งที่ 3

วันอังคาร ที่ 19 พฤศจิกายน 2556

วันนี้อาจารย์ได้อธิบายเนื้อหาพร้อมดูสไลด์ประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ต่อจากเนื้อหาในสัปดาห์ที่แล้ว

    4.เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ
-เด็กที่มีอวัยวะไม่สมส่วน
-อวัยวะส่วนหนึ่งหายไป
-มีปัญหาทางระบบประสาท
-มีความลำบากในการเคลื่อนไหว

จำแนก
1.อาการบกพร่องทางร่างกาย
2.ความบกพร่องทางสุขภาพ

  1.1อาการบกพร่องทางร่างกาย
-ซีพี
-การเป็นอัมพาตเนื่องจากระบบประสาทสมองพิการแรือเป็นผลมาจากสมองที่กำลังพัฒนาถูกทำลาย
-การเคลื่อนไหว การพูด พัฒนาการล่าช้า เด็กซีพีมีความบกพร่องที่เกิดจากส่วนต่างๆของสมองแตกต่างกัน

อาการ
-อัมพาตเกร็งแขนขาหรือครึ่งซีก
-อัมพาตของลีลาการเคลื่อนไหว ผิดปกติ
-อัมพาตสูญเสียการทรงตัว
-อัมพาตตึงแข็ง
-อัมพาตแบบผสม

  กล้ามเนื้ออ่อนแรง (Muscular Distrophy)
-เกิดจากเส้นประสาทสมองที่ควบคุมกล้ามเนื้อส่วนนั้นๆเสื่อมสลายตัว
-เดินไม่ได้ นั่งไม่ได้ นอนอยู่กับที่
-จะมีความพิการซ้อนในภายหลัง คือ ความจำแย่ลง สติปัญญาเสื่อม

  โรคทางระบบกระดูกกล้ามเนื้อ (Orthopedic)
- ระบบกระดูกกล้ามเนื้อพิการแต่กำเนิด เช่น เก้าปุก กระดูกข้อสะโพกเคลื่อนอัมพาตครึ่งท่อนเนื่องจากกระดุกไขสันหลังล่างไม่ติด (Spina Sifida)
--> เก้าปุก เดิรได้ รักษาได้ เป็นตั้งแต่เกิด ใส่เฝือกต้องเปลื่อนเฝือกทุกสัปดาห์ ใส่เวลา 4-5 เดือน
-ระบบกระดูกกล้ามเนื้อพิการด้วยโรคติดเชื้อ (Infection) เช่น วัณโรคกระดูก หลังโกง กระดูกผุ เป็นแผลเรื้อรังมีหนอง เศษกระดูกผุ
-กระดูกหัก ข้อเคลื่อน ข้ออักเสบ
    
   โปลิโอ (Poliomyelitis) มีอาการกล้ามเนื้อลีบเล็ก แต่ไม่มีผลกระทบต่อสติปัญญา
-ยืนไม่ได้ หรืออาจปรับสภาพให้ยืนเดินได้ด้วยอุปกรณ์เสริม
แขนขาด้วนแต่กำเนิด (Limb Deficiency)
โรคกระดูกอ่อน (Osteogenesis lmperfeta)

    1.2 ความบกพร่องทางสุขภาพ
โรคลมชัก (Epilepsy)
-เป็นลักษณะอาการที่เกิดเนื่องมาจากความผิดปกติของระบบสมอง
1.ลมบ้าหมู (Grand Mal)
-เมื่อเกิดอาการชักจะทำให้หมดสติ และหมดความรู้สึกในขณะชักกล้ามเนื้อเกร็งหรือแขนขากระตุก กัดฟัน กัดลิ้น
2.การชักในช่วงเลวาสั้นๆ (Petit Mal)
-เป็นอาการชักชั่วระยะเวลาสั้นๆ 5-10 วินาที
-เมื่อเกิดอาการชักเด็กจะหยุดชะงักในท่าก่อนชัก
-เด็กจะนั่งเฉย หรือเด็กอาจจะตัวสั่นเล็กน้อย
3.การชักแบบรุนแรง (Grand Mal)
-เมื่อเกิดอาการชัก เด็กจะส่งเสียง หมดความรู้สึก ล้มลง กล้ามเนื้อเกร็ง เกิดขึ้นราว 2-5นาที จากนั้นจะหายและนอนหลับไปชั่วครู่
4.อาการชักแบบ Partial Complax
-เกิดอาการเป็นระยะๆ
-กัดริมฝีปากไม่รู้สึกตัว ถูตามแขนขา เดินไปมา
-บางคนอาจเกิดความโกรธหรือโมโห หลังชักอาจจำเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่ได้ และต้องการนอนพัก
5.อาการไม่รู้สึกตัว (Focal Partial)
-เป็นอาการที่เกิดขึ้นในระยะสั้น เด็กไม่รู้สึกตัว อาจทำอะไรบางอย่างโดยที่ตัวเองไม่รู้ เช่น ร้องเพลง ดึงเสื้อผ้า เดินเหม่อลอย แต่ไม่มีอารการชัก
*นอกจากโรคลมชักแล้วยังมีอรกหลายโรคที่เกิดจากความบกพร่องทางสุขภาพ
-โรคระบบทางเดินหายใจ
-โรคเบาหวาน
-โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์
-โรคศีรษะโต
-โรคหัวใจ
-โรคมะเร็ง
-โรคเลือดไหลไม่หยุด
    ลักษณะของเด็กบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ
-มีปัญหาเกี่ยวกับครอบครัว
-ท่าเดินคล้ายกรรไกร
-เดินขากะเผลกหรืออืดอาดเชื่องช้า
-ไอเสียงแห้งบ่อยๆ
-มักบ่านเจ็บหน้าอก บ่นปวดหลัง
-หน้าแดงง่าย มีสีเขียวจางบนแก้มริมฝีปากหรือปลายนิ้ว
-หกล้มบ่อยๆ
-หิวและกระหายน้ำอย่างเกินกว่าเหตุ
5.เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา
เด็กที่พูดไม่ชัดออกเสียงผิดเพี้ยนอวัยวะที่ใช้ในการพูด ไม่สามารถเป็นไปตามลำดับขั้น การใช้อวัยวะเพื่อการพูดไม่เป็นไปดังตั้งใจ มีอากัปกิริยาที่ผิดปกติขณะพูด
 1.ความผิดปกติด้านการออกเสียง
-ออกเสียงผิดเพี้ยนไปจากมาตรฐานของภาษาเดิม
-เพิ่มหน่วยเสียงเข้าในคำโดยไม่จำเป็น
-เอาเสียงหนึ่งมาแทนอีกเสียงหนึ่ง เช่น กวาด เป็น ฝาด
2.ความผิดปกติด้านจังหวะเวลาของการพูด เช่น การพูดรัว การพูดติดอ่าง
3.ความผิดปกติด้านเสียง
-ระดับเสียง
-ความดัง
-คุณภาพเสียง
4.ความผิดปกติทางการพูดและภาษาอันเนื่องมาจากพยาธิสภาพที่สมองโดยที่วไปเรียกว่า Dysphasia หรือ aphasia
4.1 Motor aphasia
 -เด็กที่เข้าใจคำถามหรือคำสั่งแต่พูดไม่ได้ ออกเสียงลำบาก
-พูดช้าๆพอพูดตามได้บ้างเล็กน้อย บอกชื่อสิ่งของพอได้
-พูดไม่ถูกไวยากรณ์
4.2 Wernicke's aphasia
-เด็กที่ไม่เข้าใจคำถาม หรือคำสั่ง ได้ยินแต่ไม่เข้าใจความพยายาม
-ออกเสียงไม่ติดขัด แต่มักใช้คำผิดๆหรือใช้คำอื่นซึ่งไม่มีความหมายมาแทน
4.3 Conduction aphasia
-เด็กที่ออกเสียงได้ไม่ติดขัด เข้าใจคำถามดี แต่พูดตามหรือบอกชื่อสิ่งของไม่ได้ มักเกิดร่วมไปกับอัมพาตของร่างกายซีกขวา
4.4 Nominal aphasia
-เด็กที่ออกเสียงได้ เข้าใจคำถามดี พูดตามได้ แต่บอกชื่อวัตถุไม่ได้ เพราะลืมชื่อบางทีก้ไม่เข้าใจความหมายของคำ  มักเดิกร่วมไปกับGerstmann's syndrome
4.5 Global aphasia
-เด็กที่ไม่เข้าใจทั้งภาาาพูดและภาษาเขียน
-พูดไม่ได้เลย
4.6 Sensory agraphia
-เด็กที่เขียนเองไม่ได้ เขียนตอบคำถามหรือเขียนชื่อวัตถุก้ไม่ได้มักเกิดร่วมกับ Gerstmann's syndrome
4.7 Motor agraphia
-เด็กที่ลอกตัวเขียนหรือตัวพิมพ์ไม่ได้ 
-เขียนตามคำบอกไม่ได้
4.8 Cortical alexia
-เด็กที่อ่านไม่ออก เพราะไม่เข้าใจภาษา
4.9 Motor alexia
-เด็กที่เห็นตัวเขียนหรือตัวพิมพ์ เข้าใจความหมายแต่อ่านออกเสียงไม่ได้
4.10 Gerstmann's syndrome *ไม่รู้อะไรเลยซักอย่าง หนักเลย
-ไม่รู้ชื่อนิ้ว
-ไม่รู้ซ้ายขวา
-คำนวณไม่ได้
-เขียนไม่ได้
-อ่านไม่ออก
4.11 Visual agnosia
-เด็กที่มองเห็นวัตถุ แต่ไม่รู้ว่าเป็นอะไร บางทีบอกชื่อนิ้วตัวเองไม่ได้
4.12 Auditory agnosia
-เด็กที่ไม่มีความบกพร่องทางการได้ยินแต่แปลความหมายของคำหรือประโยคที่ได้ยินไม่เข้าใจ

    ลักษณะของเด็กบกพร่องทางการพูดและภาษา
-ในวัยทารกมักเลียนผิดธรรมชาติ ร้องไห้เบาๆ และอ่อนแรง
-ไม่อ่อแอ่ภายในอายุ 10 เดือน
-ไม่พูดภายในอายุ 2 ขวบ
-หลัง 3 ขวบแล้วภาษาพูดของเด็กก็มักฟังเข้าใจยาก
-ออกเสียงตัวสะกดไม่ได้
-หลัง 5 ขวบ เด็กยังคงใช้ภาาาที่เป็นประโยคไม่สมบูรณ์ในระดับประถมศึกษา
-มีปัญหาในการสื่อความหมาย พูดตะกุกตะกัก
-ใช้ท่าทางในการสื่อความหมาย
*แล้วอาจารย์ก็ให้ดู VDO คนพิการที่สู้ชีวิต น่าเอาเป็นตัวอย่าง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น