วันเสาร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556


บันทึกการเรียนครั้งที่ 4

วันอังคาร ที่ 26 พฤศจิกายน 2556

  อาจารย์อธิบายเนื้อหาต่อจากสัปดาห์ที่แล้ว
6. เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
-เด็กที่มีการควบคุมอารมณ์ให้อยู่ในสภาพปกตินานๆไม่ได้ (กลุ่มนี้น่ากลัว)
-เด็กที่ควบคุมพฤติกรรมของตยเองไม่ได้
-ทำให้ไม่สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างเรียบร้อย
แบ่งได้ 2 ประเภท
-เด็กที่ได้รับความกระทบกระเทือนทางอารมณ์
-เด็กที่ปรับตัวเข้ากับสังคมไม่ได้
  
   เด็กที่ปรับตัวเข้ากับสังคมไม่ได้มักมีพฤติกรรมที่เห็นได้ชัดคือ
-วิตกกังวล
-หนีสังคม
-ก้าวร้าว
การจะวัดว่าเด็กมีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ต้องคำนึงถึงองค์ประกอบดังนี้
-สภาพแวดล้อม
-ความคิดเห็นของแต่ละบุคคล

  ผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อเด็ก
-ไม่สามารถเรียนหนังสือได้เช่นเด็กปกติ
-รักษาความสัมพันธ์กับเพื่อนหรือกับครูไม่ได้
-มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมเมื่อเทียบกับเด็กในวัยเดียวกัน
-มีความคับข้องใจและมีความเก็บกดอารมณ์
-แสดงอาการทางร่างกาย เช่น ปวดศีรษะ ปวดตามส่วนต่างๆของร่างกาย
-มีความหวาดกลัว

    เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรม ซึ่งจัดว่ามีความรุนแรงมาก
-เด็กสมาธิสั้น
-เด็กออทิสติก

   เด็กสมาธิสั้น
-เรียกย่อๆว่า ADHD
-เด็กที่ซนอยู่ไม่นิ่ง ซนมากผิดปกติ เคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา
-เด็กบางคนมีปัยหาเรื่องสมาธิบกพร่อง อาการหุนหันพลันแล่นขาดความยับยั้งชั่งใจ เด็กหเล่านี้ทางการแพทย์จะเรียกว่า AttenrionDeficit Disorders (ADD)

    ลักษณะของเด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
-อุจจาระ ปัสสาวะรดเสื้อผ้า หรือที่นอน
-ยังติดขวดนม หรือตุ้กตา และของใช้ในวัยทารก
-ดูดน้ำ กัดเล็บ
-หงอยเหงาเศร้าซึม การหนีสังคม
-เรียกร้องความสนใจ
-อารมณ์หวั่นไหวง่ายตาอสิ่งเร้า
-ขี้อิจฉาริษยา
-ฝันกลางวัน
-พูดเพ้อเจ้อ

7.เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ * เหมือนเด็กปกติทุกอย่างไม่บกพร่องเลย
-เรียกย่อๆว่า L.D (Learning Disability)
-เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้เฉพาะอย่าง
-เด็กที่มีปัญหาทางการใช้ภาษา หรือการพูด การเขียน
-ไม่นับรวมเด็กที่มีปัญหา เพียงเล็กน้อยทางการเรียน เด็กที่มีปัญหาเนื่องจากความพิการหรือความบกพร่องทางร่างกาย
   
  ลักษณะของเด้กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้
-มีปัญหาในทักษะคณิตศาสตร์
-ปฏิบัติตามคำสั่งไม่ได้
-มีปัญหาด้านการอ่านเขียน
-ไม่รู้จักซ้ายขวา
-ซุ่มซ่าม
-รับลูกบอลไม่ได้
-ติดกระดุมไม่ได้
-เอาแต่ใจตนเอง

8. เด็กออทิสติก ( Autistic) *รับมือยากมากรุนแรงสุดๆ
-หรือออทิซึ่ง ( Autism)

-เด็กที่มีความบกพร่องอย่างรุนแรงในการสื่อความหมาย พฤติกรรมสังคมและความสามารถทางสติปัญญาในการรับรู้
-เด็กออทิสติกแต่ละคยจะมีเอกลักษณ์ของตนเอง
-ติดตัวเล็กไปตลอดชีวิต
 -- ทักษะทางภาษา ต่ำ
 -- ทักษะทางสังคม ต่ำ
 -- ทักษะการเคลื่อนไหว สูง
 -- ทักษะการรับรู้เกี่ยวกับรูปทรง ขนาดพื้นที่ สูง

   ลักษณะเด็กออทิสติก *โลกส่วนตัวสูงมาก

-อยู่ในโลกของตนเอง
-ไม่เข้าไปหาใครเพื่อให้ใครปลอบใจ
-ไม่เข้าไปเล่นในกลุ่มเพื่อน
-ต่อต้าน หรือแสดงกิริยา อารมณ์รุนแรงและไร้เหตุผล
-มีท่าทางเหมือนคนหูหนวก
-ใช้วิธีการสัมผัสและเรียนรู้สิ่งต่างๆด้วยวิธีที่ต่างจากคนทั่วไป

9.เด็กพิการซ้อน
-เด็กที่มีความบกพร่องที่มากกว่าหนึ่งอย่างเป็นเหตุให้เกิดปัญหาขัดข้องในการเรียนรู้อย่างมาก
-เด็กปัญญาอ่อนที่สูญเสียการได้ยิน
-เด็กปัญญาอ่อนที่ตาบอด
-เด็กที่ทั้งหูหนวกและตาบอด

 ** แล้วอาจารย์ก็ได้ให้ดู VDO ห้องเรียนแรกของเด็กพิเศษพร้อมสรุปเป็นมายแม็ปส่งในคาบ

 


วันศุกร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556


บันทึกการเรียนครั้งที่ 3

วันอังคาร ที่ 19 พฤศจิกายน 2556

วันนี้อาจารย์ได้อธิบายเนื้อหาพร้อมดูสไลด์ประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ต่อจากเนื้อหาในสัปดาห์ที่แล้ว

    4.เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ
-เด็กที่มีอวัยวะไม่สมส่วน
-อวัยวะส่วนหนึ่งหายไป
-มีปัญหาทางระบบประสาท
-มีความลำบากในการเคลื่อนไหว

จำแนก
1.อาการบกพร่องทางร่างกาย
2.ความบกพร่องทางสุขภาพ

  1.1อาการบกพร่องทางร่างกาย
-ซีพี
-การเป็นอัมพาตเนื่องจากระบบประสาทสมองพิการแรือเป็นผลมาจากสมองที่กำลังพัฒนาถูกทำลาย
-การเคลื่อนไหว การพูด พัฒนาการล่าช้า เด็กซีพีมีความบกพร่องที่เกิดจากส่วนต่างๆของสมองแตกต่างกัน

อาการ
-อัมพาตเกร็งแขนขาหรือครึ่งซีก
-อัมพาตของลีลาการเคลื่อนไหว ผิดปกติ
-อัมพาตสูญเสียการทรงตัว
-อัมพาตตึงแข็ง
-อัมพาตแบบผสม

  กล้ามเนื้ออ่อนแรง (Muscular Distrophy)
-เกิดจากเส้นประสาทสมองที่ควบคุมกล้ามเนื้อส่วนนั้นๆเสื่อมสลายตัว
-เดินไม่ได้ นั่งไม่ได้ นอนอยู่กับที่
-จะมีความพิการซ้อนในภายหลัง คือ ความจำแย่ลง สติปัญญาเสื่อม

  โรคทางระบบกระดูกกล้ามเนื้อ (Orthopedic)
- ระบบกระดูกกล้ามเนื้อพิการแต่กำเนิด เช่น เก้าปุก กระดูกข้อสะโพกเคลื่อนอัมพาตครึ่งท่อนเนื่องจากกระดุกไขสันหลังล่างไม่ติด (Spina Sifida)
--> เก้าปุก เดิรได้ รักษาได้ เป็นตั้งแต่เกิด ใส่เฝือกต้องเปลื่อนเฝือกทุกสัปดาห์ ใส่เวลา 4-5 เดือน
-ระบบกระดูกกล้ามเนื้อพิการด้วยโรคติดเชื้อ (Infection) เช่น วัณโรคกระดูก หลังโกง กระดูกผุ เป็นแผลเรื้อรังมีหนอง เศษกระดูกผุ
-กระดูกหัก ข้อเคลื่อน ข้ออักเสบ
    
   โปลิโอ (Poliomyelitis) มีอาการกล้ามเนื้อลีบเล็ก แต่ไม่มีผลกระทบต่อสติปัญญา
-ยืนไม่ได้ หรืออาจปรับสภาพให้ยืนเดินได้ด้วยอุปกรณ์เสริม
แขนขาด้วนแต่กำเนิด (Limb Deficiency)
โรคกระดูกอ่อน (Osteogenesis lmperfeta)

    1.2 ความบกพร่องทางสุขภาพ
โรคลมชัก (Epilepsy)
-เป็นลักษณะอาการที่เกิดเนื่องมาจากความผิดปกติของระบบสมอง
1.ลมบ้าหมู (Grand Mal)
-เมื่อเกิดอาการชักจะทำให้หมดสติ และหมดความรู้สึกในขณะชักกล้ามเนื้อเกร็งหรือแขนขากระตุก กัดฟัน กัดลิ้น
2.การชักในช่วงเลวาสั้นๆ (Petit Mal)
-เป็นอาการชักชั่วระยะเวลาสั้นๆ 5-10 วินาที
-เมื่อเกิดอาการชักเด็กจะหยุดชะงักในท่าก่อนชัก
-เด็กจะนั่งเฉย หรือเด็กอาจจะตัวสั่นเล็กน้อย
3.การชักแบบรุนแรง (Grand Mal)
-เมื่อเกิดอาการชัก เด็กจะส่งเสียง หมดความรู้สึก ล้มลง กล้ามเนื้อเกร็ง เกิดขึ้นราว 2-5นาที จากนั้นจะหายและนอนหลับไปชั่วครู่
4.อาการชักแบบ Partial Complax
-เกิดอาการเป็นระยะๆ
-กัดริมฝีปากไม่รู้สึกตัว ถูตามแขนขา เดินไปมา
-บางคนอาจเกิดความโกรธหรือโมโห หลังชักอาจจำเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่ได้ และต้องการนอนพัก
5.อาการไม่รู้สึกตัว (Focal Partial)
-เป็นอาการที่เกิดขึ้นในระยะสั้น เด็กไม่รู้สึกตัว อาจทำอะไรบางอย่างโดยที่ตัวเองไม่รู้ เช่น ร้องเพลง ดึงเสื้อผ้า เดินเหม่อลอย แต่ไม่มีอารการชัก
*นอกจากโรคลมชักแล้วยังมีอรกหลายโรคที่เกิดจากความบกพร่องทางสุขภาพ
-โรคระบบทางเดินหายใจ
-โรคเบาหวาน
-โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์
-โรคศีรษะโต
-โรคหัวใจ
-โรคมะเร็ง
-โรคเลือดไหลไม่หยุด
    ลักษณะของเด็กบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ
-มีปัญหาเกี่ยวกับครอบครัว
-ท่าเดินคล้ายกรรไกร
-เดินขากะเผลกหรืออืดอาดเชื่องช้า
-ไอเสียงแห้งบ่อยๆ
-มักบ่านเจ็บหน้าอก บ่นปวดหลัง
-หน้าแดงง่าย มีสีเขียวจางบนแก้มริมฝีปากหรือปลายนิ้ว
-หกล้มบ่อยๆ
-หิวและกระหายน้ำอย่างเกินกว่าเหตุ
5.เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา
เด็กที่พูดไม่ชัดออกเสียงผิดเพี้ยนอวัยวะที่ใช้ในการพูด ไม่สามารถเป็นไปตามลำดับขั้น การใช้อวัยวะเพื่อการพูดไม่เป็นไปดังตั้งใจ มีอากัปกิริยาที่ผิดปกติขณะพูด
 1.ความผิดปกติด้านการออกเสียง
-ออกเสียงผิดเพี้ยนไปจากมาตรฐานของภาษาเดิม
-เพิ่มหน่วยเสียงเข้าในคำโดยไม่จำเป็น
-เอาเสียงหนึ่งมาแทนอีกเสียงหนึ่ง เช่น กวาด เป็น ฝาด
2.ความผิดปกติด้านจังหวะเวลาของการพูด เช่น การพูดรัว การพูดติดอ่าง
3.ความผิดปกติด้านเสียง
-ระดับเสียง
-ความดัง
-คุณภาพเสียง
4.ความผิดปกติทางการพูดและภาษาอันเนื่องมาจากพยาธิสภาพที่สมองโดยที่วไปเรียกว่า Dysphasia หรือ aphasia
4.1 Motor aphasia
 -เด็กที่เข้าใจคำถามหรือคำสั่งแต่พูดไม่ได้ ออกเสียงลำบาก
-พูดช้าๆพอพูดตามได้บ้างเล็กน้อย บอกชื่อสิ่งของพอได้
-พูดไม่ถูกไวยากรณ์
4.2 Wernicke's aphasia
-เด็กที่ไม่เข้าใจคำถาม หรือคำสั่ง ได้ยินแต่ไม่เข้าใจความพยายาม
-ออกเสียงไม่ติดขัด แต่มักใช้คำผิดๆหรือใช้คำอื่นซึ่งไม่มีความหมายมาแทน
4.3 Conduction aphasia
-เด็กที่ออกเสียงได้ไม่ติดขัด เข้าใจคำถามดี แต่พูดตามหรือบอกชื่อสิ่งของไม่ได้ มักเกิดร่วมไปกับอัมพาตของร่างกายซีกขวา
4.4 Nominal aphasia
-เด็กที่ออกเสียงได้ เข้าใจคำถามดี พูดตามได้ แต่บอกชื่อวัตถุไม่ได้ เพราะลืมชื่อบางทีก้ไม่เข้าใจความหมายของคำ  มักเดิกร่วมไปกับGerstmann's syndrome
4.5 Global aphasia
-เด็กที่ไม่เข้าใจทั้งภาาาพูดและภาษาเขียน
-พูดไม่ได้เลย
4.6 Sensory agraphia
-เด็กที่เขียนเองไม่ได้ เขียนตอบคำถามหรือเขียนชื่อวัตถุก้ไม่ได้มักเกิดร่วมกับ Gerstmann's syndrome
4.7 Motor agraphia
-เด็กที่ลอกตัวเขียนหรือตัวพิมพ์ไม่ได้ 
-เขียนตามคำบอกไม่ได้
4.8 Cortical alexia
-เด็กที่อ่านไม่ออก เพราะไม่เข้าใจภาษา
4.9 Motor alexia
-เด็กที่เห็นตัวเขียนหรือตัวพิมพ์ เข้าใจความหมายแต่อ่านออกเสียงไม่ได้
4.10 Gerstmann's syndrome *ไม่รู้อะไรเลยซักอย่าง หนักเลย
-ไม่รู้ชื่อนิ้ว
-ไม่รู้ซ้ายขวา
-คำนวณไม่ได้
-เขียนไม่ได้
-อ่านไม่ออก
4.11 Visual agnosia
-เด็กที่มองเห็นวัตถุ แต่ไม่รู้ว่าเป็นอะไร บางทีบอกชื่อนิ้วตัวเองไม่ได้
4.12 Auditory agnosia
-เด็กที่ไม่มีความบกพร่องทางการได้ยินแต่แปลความหมายของคำหรือประโยคที่ได้ยินไม่เข้าใจ

    ลักษณะของเด็กบกพร่องทางการพูดและภาษา
-ในวัยทารกมักเลียนผิดธรรมชาติ ร้องไห้เบาๆ และอ่อนแรง
-ไม่อ่อแอ่ภายในอายุ 10 เดือน
-ไม่พูดภายในอายุ 2 ขวบ
-หลัง 3 ขวบแล้วภาษาพูดของเด็กก็มักฟังเข้าใจยาก
-ออกเสียงตัวสะกดไม่ได้
-หลัง 5 ขวบ เด็กยังคงใช้ภาาาที่เป็นประโยคไม่สมบูรณ์ในระดับประถมศึกษา
-มีปัญหาในการสื่อความหมาย พูดตะกุกตะกัก
-ใช้ท่าทางในการสื่อความหมาย
*แล้วอาจารย์ก็ให้ดู VDO คนพิการที่สู้ชีวิต น่าเอาเป็นตัวอย่าง

วันพฤหัสบดีที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556


บันทึกการเรียนครั้งที่ 2

วันอังคาร ที่ 12 พฤศจิกายน 2556

              อาจารย์อธิบายและบอกถึงเรื่องคะแนน
การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้  100 คะแนน ว่ามีอะไรบ้าง

อาจารย์อธิบายเนื้อหา

ความหมายของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
1. ทางการแพทย์ มักจะเรียกเด็กที่มีความต้องการพิเศษว่า "เด็กพิการ" หมายถึง เด็กที่มีความผิดปกติ มีความบกพร่อง สูญเสียสมรรถภาพ อาจเป็นความผิดปกติความบกพร่องทางกาย การสูญเสียสมรรถภาพทางสติปัญญา ทางจิตใจ
2. ทางการศึกษา หมายถึง เด็กที่มีความต้องการทางการศึกษาเฉพาะของตัวเอง ซึ่งจำเป็นต้องจัดการศึกษาให้ต่างไปจากเด็กปกติทางด้านเนื้อหา หลักสูตร กระบวนการที่ใช้และการประเมินผลต้องยึดเป็นรายบุคคล
       สรุปได้ว่าเด็กที่มีความต้องการพิเศษหมายถึง
-เด็กที่ไม่อาจพัฒนาความสามารถได้เท่าที่ควรจากการให้การช่วยเหลือ และการสอนตามปกติ
-มีสาเหตุจากสภาพความบกพร่องทางร่างกายสติปัญญาและอารมณ์
-จำเป็นต้องได้รับการกระตุ้น ช่วยเหลือ การบำบัดและฟื้นฟู
-จัดการเรียนการสอนที่เหมาะกับลักษณะแฃะความต้องการของเด็กแต่ละบุคคล
  All children can learn = เด็กทุกคนสามารถเรียนรู้ได้

       ประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
แบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ
1. กลุ่มเด็กที่มีลักษณะทางความสามารถสูง
-มีความเป็นเลิศทางสติปัญญา เรียกโดยทั่วๆไปว่า "เด็กปัํญญาเลิศ"
2.กลุ่มเด็กที่มีลักษณะทางความบกพร่อง
   กระมรวงศึกษาธิการ แบ่งออกเป็น 9 ประเภท
    1.เด็กบกพร่องทางสติปัญญา
    2.เด็กบกพร่องทางการได้ยิน
    3.เด็กบกพร่องทางการเห็น
    4.เด็กบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ
    5.เด็กบกพร่องทางการพูดและภาษา
    6.เด็กบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
    7.เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรูื้
    8.เด็กออทิสติก
    9.เด็กพิการซ้อน (ซ้ำซ้อน)

1. เด็กบกพร่องทางสติปัญญา 
หมายถึง เด็กที่มีระดับสติปัญญาต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ยเมื่อเทียบเด็กในระดับอายุเดียวกัน มี 2 กลุ่ม คือ เด็กเรียนช้า เด็กปัญญาอ่อน

  --> เด็กเรียนชา
-สามารถเรียนในชั้นเรียนปกติได้
-เด็กที่มีความสามารถในการเรียนล่าช้ากว่าเด็กปกติ
-ขาดทักษะในการเรียนรู้
-มีความบกพร่องทางสติปัญญาเพียงเล็กน้อย
-มีระดับสติปัญญา IQ ประมาณ 71-90
       สาเหตุของการเรียนช้า
--ภายนอก
--ภายใน
   1. ภายนอก
- เศรษฐกิจของครอบครัว
- การสร้างเสริมประสบการณ์ให้แก่เด็ก
-สภาวะทางด้านอารมณ์ของคนในครอบครัว
-การเข้าเรียนไม่สม่ำเสมอ
-วิธีการสอนไม่มีประสิทธิภาพ
    2. ภายใน
-พัฒนาการช้า
-การเจ็บป่วย

  --> เด็กปัญญาอ่อน
-เด็กที่มีภาวะการพัฒนาการหยุดชะงัก
-แสดงลักษณะเฉพาะสื่อมีระดับสติปัญญาต่ำ
-มีความสามารถในการเรียนรู้น้อย
-มีความจำกัดทางด้านทักษะ
-มีพัฒนาการทางกายล่าช้าไม่เหมาะสมกับวัย
-มีความสามารถจำกัดในการปรับตัวต่อสิ่งแวดล้อม
         เด็กปัญญาอ่อนแบ่งตามระดับสติปัญญา (IQ) ได้ 4 กลุ่ม
1.เด็กปัญญาอ่อนขนาดหนักมาก IQ ต่ำกว่า 20
-ไม่สามารถเรียนรู้ทักษะด้านต่างๆได้เลย ต้องการเฉพาะการดูแลรักษาพยาบาลเท่านั้น
2.เด็กปัญญาอ่อนขนาดหนัก IQ 20-34
-ไม่สามารถเรียนได้ ต้องการเฉพาะการฝึกหัดการช่วยเหลือตัวเองในกิจวัตรประจำวันเบื้องต้นง่ายๆ
    2 กลุ่มนี้เรียกโดยทั่วไปว่า C.M.R (Custodial Mental Retardation)
3.เด็กปัญญาอ่อนขนาดปานกลาง IQ 35-49
-พอที่จะฝึกอบรมและเรียนทักษะเบื้องต้นง่ายๆได้ สามารถฝึกอาชีพ หรือทำงานง่ายๆที่ไม่ต้องใช้ความละเอียดลออได้เรียกโดยทั่วไปว่า T.M.R (Trainable Mentally Retarded)
4.เด็กปัญญาอ่อนขนาดน้อย IQ 50-70 
-สามารถเข้าเรียนได้ สามารถฝึกอาชีพและงานง่ายๆได้เรียนในระดับประถมศึกษาได้ เรียกโดยทั่วไปว่า E.M.R (Educable Mentally Retarded)

     ลักษณะของเด็กที่บกพร่องทางสติปัญญา

-ไม่พูดหรือพูดไม่ได้สมวัย
-ช่วงความสนใจสั้นวอกแวก
-ความคิดและอารมณ์เปลี่ยนแปลงง่ายรอคอยไม่ได้
-ทำงานช้า
-รุนแรง ไม่มีเหตุผล
-อวัยะบางส่วนมีรูปร่างผิดปกติ กล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานกัน
-ช่วยตนเองได้น้อยกว่าเด็กในวัยเดียวกัน

2. เด็กบกพร่องทางการได้ยิน
หมายถึง เด็กที่มีความบกพร่องหรือสูญเสียการได้ยินเป็นเหตุให้การรับฟังเสียงต่างๆได้ไม่ชัดเจน
มี 2 ประเภท คือ เด็กหูตึง และเด็กหูหนวก

--> เด็กหูตึง  หมายถึง เด็กที่สูญเสียการได้ยินแต่สามารถรับข้อมูลได้ โโยใช้เครื่องช่วยฟัง
จำแนกกลุ่มย่อยได้ 4 กลุ่ม
 1.เด็กหูตึงระดับน้อย ได้ยินระหว่าง 26-40 dB
-เด็กจะมีปัญหาในการรับฟังเสียงเบาๆ เช่น เสียงกระซิบหรือเสียงจากที่ไกลๆ
2.เด็กหูตึงระดับปานกลาง ได้ยินระหว่าง 41-55 Db
-เด็กจะมีปัญหาในการรับฟังเสียงพูดคุยในระดับปกติ ในระยะห่าง 3-5 ฟุต และไม่เห็นหน้าผู้พูด
-จะไม่ได้ยิน ได้ยินไม่ชัด จับใจความไม่ได้
-มีปัญหาในการพูดเล็กน้อย เช่น พูดไม่ชัด ออกเสียงเพี้ยน พูดเสียงเบา หรือเสียงผิดปกติ
3.เด็กหูตึงระดับมาก ได้ยินระหว่าง 56-70 dB
-เด็กจะมีปัญหาในการรับฟังและเข้าใจคำพูด
-เมื่อพูดคุยกันด้วยเสียงดังเต็มที่ก็ยังไม่ได้ยิน
-มีปัญหาในการรับฟังเสียงหลายเสียงพร้อมกัน
-มีพัฒนาการทางภาษาและการพูดช้ากว่าปกติ
-พูดไม่ชัด เสียงเพี้ยน บางคนไม่พูด
ทักษะของภาษาพบบ่อยในเด็กพิเศษ
4.เด็กหูตึงระดับรุนแรง ได้ยินระหว่าง 71-90 dB
-เด็กจะมีปัญหาในการรับฟังเสียงและการเข้าใจคำพูดอย่างมาก
-ได้ยินเฉพาะเสียงที่ดังใกล้หูในระยะ 1 ฟุต
-การพูดคุยด้วยต้องตะโกนหรือเครื่องขยายเสียง

--> เด็กหูหนวก
-เด็กที่สูญเสียการได้ยินมากถึงขนาดที่ทำให้หมดโอกาสที่จะเข้าใจภาษาพูดจากการได้ยิน
-เครื่องช่วยฟังไม่สามารถช่วยได้
-ไม่สามารถเข้าใจหรือใช้ภาษาพูดได้
-ระดับการได้ยินตั้งแต่ 91 dB ขึ้นไป

        ลักษณะของเด็กที่บกพร่องทางการได้ยิน

-ไม่ตอบสนองเสียงพูด เสียงดนตรีมักตะแคงหูฟัง
-ไม่พูด ฝึกแสดงท่าทาง
-พูดไม่ถูกไวยากรณ์
-พูดด้วยเสียงแปลก มักเปล่งเสียงสูง
-พูดด้วยเสียงต่ำหรือด้วยเสียงที่ดังเกิดความจำเป็น
-เวลาฟังมักจะมองปากของผู้พูด หรือจ้องหน้าผู้พูด
-รู้สึกไวต่อการสั่นสะเทือน และการเคลื่อนไหวรอบตัว
-มักทำหน้าที่เด็กเมื่อมีการพูดด้วย

       3.เด็กบกพร่องทางการเห็น

-เด็กที่มองไม่เห็นหรือพอเห็นแสง เห็นเลือนราง
-มีความบกพร่องทางสายตาทั้งสองข้าง
-สามารถเห็นได้ไม่ถึง 1/10 ของคนสายตาปกติ
-มีลานสายตากว้างไม่เกิน 30 องศา
   จำแนกได้เป็น 2 ประเภท คือ เด็กตาบอด และเด็กตาบอดไม่สนิท

--> เด็กตาบอด
-เด็กที่ไม่สามารถมองเห็นได้เลย หรือมองเห็นบ้าง
-ต้องใช้ประสาทสัมผัสอื่นในการเรียนรู้
-มีสายตาดีมองเห็นได้ในระยะ 6/60, 20/200 ลงมาจนถึงบอดสนิท
-มีลานสายตาโดยเฉลี่ยอย่างสูงสุดแคบกว่า 5 องศา

--> เด็กตาบอดไม่สนิท
-เด็กที่มีความบกพร่องทางสายตา
-สามารถมองเห็นบ้างแต่ไม่เท่ากับเด็กปกติ
-เมื่อทดสอบสายตาข้างดีจะอยู่ในระดับ 6/18 , 20/6, 6/60, 20/200 หรือน้อยกว่านั้น
-มีลานสายตาโดยเฉลี่ยอย่างสูงสุดกว้างไม่เกิน 30 องศา

      ลักษณะเด็กบกพร่องทางการมองเห็น
-เด็กงุ่มง่าม ซนและสะดุดวัตถุ
-มองเห็นสีผิดไปจากปกติ
-มักบ่นว่าปวดศีรษะ คลื่อนไส้ ตาลาย คันตา
-ก้มศีรษะชิดกับงาน หรือของเล่นที่วางอยู่ตรงหน้า
-เพ่งตา หรี่ตา หรือปิดตาข้างหนึ่งเมื่อใช้สายตา
-ตาและมือไม่สัมพันธ์กัน
-มีความลำบากในการจำ และแยกแยะสิ่งที่เป็นรูปร่างทางเรขาคณิต






    



วันพุธที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนครั้งที่ 1 

วันอังคาร ที่ 5 พฤศจิกายน 2556

        อาจารย์อธิบายรายวิชา เนื้อหาที่จะเรียน และให้ทำ Mind Map


เด็กพิเศษ